ประโยชน์: เกอมาร์ พลัส วิวัฒนาการขั้นสูงของสาหร่ายทะเลแอสโคฟิลลัม โนโดซัม (Ascophyllum nodosum) ที่ผ่านกรรมวิธีพิเศษคัดสรรจนได้สารออกฤทธิ์ที่มีความเข้มข้น ในรูปอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากจนมองเห็นรูปของเหลวใสสีอำพัน สามารถแทรกซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อพืชได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
- กระตุ้นการแตกตาดอก เพิ่มจำนวนดอก ดอกสมบูรณ์ พัฒนาการของดอกเร็วขึ้น
- ช่วยการผสมเกสร เพิ่มการติดผล ลดการหลุดร่วงของผล
- กระตุ้นการพัฒนาระบบราก ทำให้พืชมีจำนวนรากมากขึ้น สามารถดูดปุ๋ย ธาตุอาหาร และน้ำได้ดี พืชจึงเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูง
เพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงของดอก ช่วยเพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วง ลดปัญหาผลแตก ช่วยให้ผลผลิตคงคุณภาพได้นานหลังเก็บเกี่ยว
วิธีใช้:
ทุเรียน : เปิดตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะไข่ปลา (เน้นบริเวณท้องกิ่ง)
พืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว ส้มโอ : ส่งเสริมการแตกตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน หลังขึ้นน้ำ
มะม่วง เงาะ มังคุด องุ่น ลิ้นจี่ มะขามหวาน ลำไย ชมพู่ ลองกอง น้อยหน่า กระท้อน : ส่งเสริมการแตกตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ในระยะเริ่มแตกตาดอก
สำหรับการผลิตไม้ผลนอกฤดู เช่น มะม่วง ทุเรียน ส้ม มะนาว : ส่งเสริมการแตกตาดอก อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ในระยะเริ่มแตกตาดอก
พืชผักกินใบ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ผักชี ขึ้นฉ่าย : ขยายขนาดต้นและใบ อัตรา 10 –20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง พ่นครั้งแรกภายใน 7 วันหลังย้ายกล้าหรือ 14 วันหลังหว่าน พ่นครั้งต่อไปห่างกันทุก 7 วัน
พืชผักกินผล เช่น มะเขือเทศ พริก กระเจียบเขียว มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว พืชตระกูลแตง : ส่งเสริมการเจริญเติบโต/การออกดอก อัตรา 10 –20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นหลังย้ายกล้า 7-14 วันและเมื่อพบตาดอก
ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ ลีลาวดี ชวนชม : ส่งเสริมการออกดอกและช่วยขยายขนาดดอก อัตรา 10 –20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3ครั้งห่างกันทุก 7-10 วัน
ฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว ในไม้ผล และไม้ดอก : ส่งเสริมการแตกใบอ่อนพร้อมกัน ใบเขียวเข้มสมบูรณ์ อัตรา 20-30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันทุก 7-10 วัน
คำแนะนำ: ควรอ่านคำแนะนำเอกสารกำกับปุ๋ยเคมีให้เข้าใจเสียก่อน หากไม่เข้าใจ หรือ มีปัญหาสงสัยให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมเกษตรในท้องถิ่น เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และไม่ควรใช้เกินอัตราที่กำหนดเพราะจะเป็นอันตรายกับพืชได้
ข้อควรระวัง:
- ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี ควรกำจัดวัชพืชให้หมดเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชมาใช้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไป
- ควรใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อดินมีความชื้นอยู่ เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีควรกลบดิน ในกรณีที่มีการให้น้ำควรให้น้ำน้อยๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มให้มากขึ้น ถ้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรใส่ปุ๋ยเคมีแก่พืชในช่วงที่มีแสงแดดจัด ฝนไม่ตก
- ควรหมั่นดูแลป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่เสมอ
- ควรเก็บปุ๋ยเคมีในภาชนะที่ปิดมิดชิด อย่าให้ถูกความร้อน แสงแดด และฝน